วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนสัปดาห์ที่ 9

 บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 9
วันอังคาร  ที่ 31  ธันวาคม  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



**  ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก วันหยุดปีใหม่




บันทึกการเข้าเรียนสัปดาห์ที่ 8

บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 8
วันอังคาร  ที่ 24  ธันวาคม  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




**  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค



บันทึกการเข้าเรียนสัปดาห์ที่ 7

 บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 7
วันอังคาร  ที่ 17  ธันวาคม  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีการแข่งกีฬา เทา-เหลือง ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


บันทึกการเข้าเรียนสัปดาห์ที่ 6

 บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 6
วันอังคาร  ที่ 9  ธันวาคม  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



  **  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดราชกาล วันรัฐธรรมนูญ


บันทึกการเข้าเรียนสัปดาห์ที่ 5

  บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 5
วันอังคาร  ที่ 3  ธันวาคม  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



 **  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอุปกรณ์ในการเรียนขัดข้องอาจารย์เลยให้เอางานวิชาอื่นที่ค้างคามาทำในคาบเรียน


บันทึกการเข้าเรียนสัปดาห์ที่ 4


บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 4

วันอังคาร  ที่  26  พฤศจิกายน  2556   ( กลุ่ม 101 )

วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


imageกิจกรรมการเรียนการสอนimage
     - อาจารย์อธิบายประเภทของเด็กพิเศษต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว


6.  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์   ( Childeren with Behavioral and Emotional Disorders )
                     - เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้                     - เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้                     - ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อยแบ่งได้  2  ประเภท      1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์      2. เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด คือ
           - วิตกกังวล           - หนีสังคม           - ก้าวร้าว     
การจัดว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
          - สภาพแวดล้อม          - ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
         - ไม่สามารถเรียนหนังสือได้         - รักษาความสัมพันธ์ความเพื่อนและครูไม่ได้         - มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน         - มีความคับข้องใจ และ มีความเก็บกดทางอารมณ์         - แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ         - มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
                  - เด็กสมาธิสั้น                  - เด็กออทิสติก หรือ ออทิสซึ่ม
เด็กสมาธิสั้น
          - เรียกย่อๆว่า ADHD
          - เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง          - มีปัญหาสมาธิบกพร่อง         
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
           - อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้าหรือที่นอน           - ยังติดขวดนม           - ดูดนิ้ว กัดเล็บ           - หงอยเหงา เศร้าซึม           - เรียกร้องความสนใจ           - อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า           - ขี้อิจฉา ริษยา ก้าวร้าว           - ฝันกลางวัน           - พูดเพ้อเจ้อ
7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  ( Children with Learning Disability )
                - เรียกย่อๆว่า  L.D.
                - มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง                - มีปัญหาทางการใช้ภาษาหรือการพูด                - ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
               - มีปัญหาทักษะทางคณิตศาสตร์               - ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้               - เล่าเรื่อง               - มีปัญหาทางด้านการอ่านการเขียน               - ซุ่มซ่าม               - รับลูกบอลไม่ได้               - ติดกระดุมไม่ได้               - เอาแต่ใจตนเอง
8. เด็กออทิสติก  ( Autistic )
              - หรือเด็กออทิสซึ่ม  ( Autisum )
              - เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์อย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย
พฤติกรรมสังคม
              - เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักเป็นของตนเอง              - ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต              - ทักษะทางภาษา              - ทักษะทางสังคม              - ทักษะการเคลื่อนไหว              - ทักษะรูปร่าง ขนาด
ลักษณะของเด็กออทิสติก
              - อยู่ในโลกของตนเอง              - ไม่เข้าไปหาใครเพื่อปลอบใจ              - ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน              - ไม่ยอมพูด              - เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ              - ยึดติดกับวัตถุ              - ต่อต้านหรือแสดงกิริยาอารมณ์รุนแรง              - มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก              - ใช้วิธีการสัมผัสและเรียนรู้สิ่งต่างๆ             
9. เด็กพิการซ้อน  ( Children With Multiple Handicaps )
             - เด็กมีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง             - เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน             - เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด            
             - เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

อาจารย์ให้ดูโทรทัศน์ครูเรื่อง "ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ"
สรุปเป็น My Map ส่งท้ายคาบ




  




บันทึกการเข้าเรียนสัปดาห์ที่ 3


บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 3
วันอังคาร  ที่  19  พฤศจิกายน  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


กิจกรรมการเรียนการสอน    
           ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้อธิบาย 2 หัว ที่เกี่ยวกับเด็กพิเศษ นั้นคือ 
หัวข้อที่ 1 อาการบกพร่องทางร่างกายและความบกพร่องทางสุขภาพ 
หัวข้อที่ 2 เด็กที่มึความบกพร่องทางด้านการพูดและภาษา

              อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย ได้แก่
                1. ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจนฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
                                1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
                                1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
                                1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
                                1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
                                1.5 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
                2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย

                3. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
                                3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
                                3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
                                3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
                4. โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว
                5. แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก
                6. โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง
                - ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่
                1. โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้
                                1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)
                                1.2 การชักในช่วยเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
                                1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
                                1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
                                1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
                2. โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม
                3. โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน
                4. โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
                5. โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ
               6. โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด
               7. โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระตูก และไต
                8. บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)


เด็กที่มึความบกพร่องทางด้านการพูดและภาษา

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการพูดทั้งในเรื่องการเข้าใจภาษาที่คนอื่นพูดและพูดให้คนอื่นเข้าใจ เป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งต่อการรับรู้และเรียนรู้พัฒนาทักษะทุกๆ ด้าน

ความบกพร่องทางการพูดและภาษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.            กลุ่มที่พัฒนาภาษาและการพูดล่าช้าหรือไม่สมวัย ได้แก่
-                   เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
-                   เด็กสมองพิการ
-                   เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์
-                   เด็กเชาว์ปัญญาต่ำ
-                   เด็กที่ขาดกรกระตุ้นการพัฒนาภาษาและการรพูดจากครอบครัวและสิ่งแวดล้อม
2.            กลุ่มเด็กอะเฟเซีย ( aphasis )
เป็นส่วนอาการที่แสดงถึงความบกพร่องทางภาษา อันเกิดจากสมาธิสภาพของสมองส่วนที่ควบคุมภาษาทำให้มีปัญหาทางภาษาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                        อะเฟเซียชนิดมีปัญหาทางด้านการรับรู้ทางภาษาเป็นปัญหานำ
                        อะเฟเซียชนิดมีปัญหาทางด้านการแสดงออกทางภาษาเป็นปัญหานำ
                        อะเฟเซียชนิดมีปัญหาในการนึกคำพูด
                        อะเฟเซียชนิดมีปัญหาทางด้านการรับรู้ทางภาษาและการแสดงออกททางภาษา

การให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาทางการพูด
            การให้ความช่วยเหลือหรือการแก้ไขความบกพร่องทางการพูดและภาษาจะมีความแตกต่างกันไปตามสาเหตุและความรุนแรงของปัญหา หลังจากที่พบความบกพร่องแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเด็กไปพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.            เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ควรพบกับ
-                   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทาง หู คอ จมูก
-                   นักแก้ไขการพูด
-                   นักโสตสัมผัสวิทยา
-                   นักการศึกษาพิเศษ
2.            เด็กสมองพิการ  ควรพบกับ
-                   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางประสาทสัมผัสวิทยา
-                   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางกายภาพบำบัด
-                   นักแก้ไขการพูด
-                   นักกายภาพบำบัด
-                   นักการศึกษาพิเศษ
3.            เด็กออทิสติก  ควรพบกับ
-                   จิตแพทย์เด็ก
-                   นักแก้ไขการพูด
-                   นักกายภาพบำบัด
-                   นักการศึกษาพิเศษ
4.            เด็กเชาว์ปัญญาต่ำ  ควรพบกับ
-                   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาการเด็ก
-                   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางกายภาพบำบัด
-                   นักแก้ไขการพูด
-                   นักกายภาพบำบัด
-                   นักการศึกษาพิเศษ
5.            เด็กที่ขาดกรกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม  ควรพบกับ
-                   นักแก้ไขการพูด
-                   นักการศึกษาพิเศษ

            แนวทางและฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กบกพร่องทางภาษาและการพูด
1.            การสื่อความหมาย
                        การสื่อความหายโดยใช้ท่าทางหรือภาษามือ
ข้อดี
-                   เรียนรู้ได้ง่าย สื่อสารไดด้รวดเร็ว
-                   สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
-                   เริ่มเรียนเมื่อไหร่ก็ได้
ข้อจำกัด
-                   ภาษามือจะเป็นที่รู้จักเฉพาะในสังคมคนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
-                   การสื่อความหมายโดยใช้ภาษมือมีความจำกัดเฉพาะลักษณะของภาษามือมักเป็น code หรือสัญลักษณ์ ไม่สามารถสื่อความหมายได้ละเอียดเหมือนภาษาพูด
-                   ไม่มีลูกเล่นทางภาษา เช่น คำเปรียบเทียบ อุปมา อุปมัย คำพังเพย เป็นต้น
-                   ผู้ที่สื่อความหมายโดยใช้ภาษามือจะมีโอกาสเลือกทางการศึกษาและประกอบอาชีพได้น้อยกว่าผู้ที่ใช้ภาษาพูด
                           การสื่อความหายโดยใช้การฟังหรือภาษาพูด
ข้อจำกัด
-                   การฝึกสอนให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดหัดออกเสียงพูดจะต้องเริ่มการกระทำตั้งแต่อายุน้อยๆ
-                   การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการฟังและการพูดจะต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก จะต้องทำการฝึกอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง


บันทึกการเข้าเรียนสัปดาห์ที่ 2

บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 2
วันอังคาร  ที่  12  พฤศจิกายน  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

กิจกรรมการเรียนการสอน

             เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับการทำความเข้าใจว่า เด็กที่มีความต้องการ พิเศษจะต้องอยู่ในขอบเขต 3 ประการ คือ

  1. ความบกพร่อง (Impairmant) หมายถึง มีการสูญเสียหรือมีความผิดปกติ ของจิตใจและสรีระหรือโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย
  2. ไร้สมรรถภาพ (Disability) หมายถึงการมีข้อจำกัดใดๆ หรือการขาด ความสามารถอันเป็นผลมาจากความบกพร่อง จนไม่สามารถกระทำกิจ กรรมในลักษณะหรือภายในขอบเขตที่ถือว่าปกติ สำหรับมนุษย์ได้
  3. ความเปรียบเทียบ(Handicap) หมายถึงการมีความจำกัดหรืออุปสรรคกัด กั้นอันเนื่องมาจากความบกพร่องและการไร้สมรรถภาพที่จำกัดหรือขัด ขวางจนทำให้บุคคลไม่สามารถบรรลุการกระทำตามบทบาทปกติของเขา ได้สำเร็ว

เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่พอสังเกตได้ดังนี้
  1. พัฒนาการทางร่างกาย ภาษา อารมณ์ และสังคม เช่น การชันคอ
  2. ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
  3. ช่วงความไม่สนใจสั้น วอกแวก
  4. ขาดความสนใจในสิ่งที่เฉพาะเจาะจง
  5. ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
  6. อดทน ต่อการรอคอยน้อย
  7. ทำงานช้า
  8. ทำอะไรรุนแรง ไม่มีเหตุผล ไม่ถูกกาลเทศะ
  9. ความเข้าใจจากการฟังดีกว่าการอ่าน
  10. การจำตัวอักษร หรือข้อความน้อยกว่าวัย
  11. มักมีปัญหาทางการพูด
  12. อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ
  13. กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  14. ไม่สามารถปรับตัวได้
  15. ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เมื่อเปรียบเทียบกับวัยเดียวกัน
  16. ชอบเล่นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่พอสังเกตได้ ดังนี้

  1. ไม่ตอบสนองเมื่อเรียก
  2. มักตะแคงหูฟัง
  3. ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  4. พูดไม่ชัด เสียงผิดปกติ
  5. พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  6. พูดด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  7. พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
  8. เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  9. รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  10. ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด เสียงดนตรี หรือมีบ้างเป็นบางครั้ง
  11. ไม่ชอบร้องเพลงไม่ชอบฟังนิทานแต่แสดงการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเสียงดังในระดับที่เด็กได้ยิน
  12. มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
  13. ไม่พูดเมื่อมีสิ่งเร้าจากแวดล้อม
  14. ซน ไม่มีสมาธิ
  15. ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้
  16. มีความลำบากในการอ่านหนังสือ
  17. ไม่ตอบคำถาม
  18. อาจมีปัญหาทางอารมณ์และสังคม
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่พอสังเกตได้ มีดังนี้

  1. เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
  2. ไม่สนใจในสิ่งที่ต้องการใช้สายตา เช่นการเล่นช่อนหา
  3. มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  4. มักบ่นว่าปวดศรีษะ คลื่นใส้ ตาลาย คันตา
  5. ก้มศรีษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
  6. ขาดความสนใจ เหม่อลอย
  7. เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
  8. ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
  9. ลำบากในเรื่องการใช้บันได ใส่กระดุม ผูกเชือกรองเท้า อ่านและเขียนหนังสือ
  10. มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพที่พอ สังเกตได้ แบ่งเป็น 
1. ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกาย มีดังนี้ 

1.1 แสดงความผิดปกติทางร่างกายเป็นที่น่าสังเกตอย่างเด่นชัด
1.2 มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
1.3 เท้าบิดผิดรูป
1.4 กระดูกสันหลังโค้งงอ
1.5 กลไกเคลื่อนไหวมีปัญหา
1.6 ท่าเดินคล้ายกรรไกร คือเข่าชิดปลายเท้าแยกจากกัน
1.7 สวมรองเท้าขาเหล็ก หรือเบรส
1.8 สูญเสียการควบคุมกลไกกล้ามเนื้อ หรือการประสานงานของร่างกาย
1.9 อาการเคลื่อนไหวสั่น หรือกระตุก
1.10 การทรงตัวของร่างกายทั้งสองข้างไม่สมดุลกัน
1.11 ความผิดปกตินั้นเกี่ยวกับหน้าที่การใช้งานตามปกติของระบบกระดูกกล้ามเนื้อ หรือข้อต่อ
1.12 เดินขากะเผลก หรืออืดอาดเชื่องช้า 
2. ลักษณะของเด็กบกพร่องทางสุขภาพ มีดังนี้ 
2.1 มีอาการเหนื่อยง่าย
2.2 มีความผิดปกติจนไม่สามารถเข้าร่วมกลุ่มกับเพื่อนได้ หรือถูกหัวเราะเยาะ กลายเป็นตัวตลก
2.3 มักกระสับกระส่าย และอยู่ไม่สุข
2.4 ชักช้าและขาดความคล่องแคล่ว
2.5 มักหายใจขัดหลังการออกกำลังกาย
2.6 ไอเสียงแห้งบ่อย
2.7 มักบ่นเจ็บหน้าอกภายหลังการทำงานโดยใช้ร่างกาย
2.8 หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากและ/หรือปลายนิ้ว
2.9 อาการไข้ต่ำๆเป็นหวัดบ่อยๆ
2.10 เกิดการชักอย่างกระทันหัน
2.11 ขาดสมาธิ หรือขาดความตั้งใจแน่วแน่
2.12 เป็นลมง่าย
2.13 บ่นว่าเจ็บภานในแขน ขาและ/หรือข้อต่อ
2.14 หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ
2.15 ท่าเดินผิดปกติ
2.16 ศรีษะโคลงไปมา
2.17 ก้าวขึ้นบันไดด้วยความยากลำบาก
2.18 ท่ายืนผิดปกติ
2.19 บ่นว่าปวดหลัง
2.20 หกล้มบ่อย ๆ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษาที่พอสังเกตได้ มีดังนี้

1. เมื่ออยู่ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆและอ่อนแรง
2. ไม่อ้อแอ้ภายใน 10 เดือน
3. ไม่พูดภายใน 2 ขวบ
4. หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
5. ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
6. หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในะระดับประถมศึกษา
7. มีปัญหาใรการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
8. ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่พอ สังเกตได้แบ่งเป็น 
1.ลักษณะพฤติกรรมไม่สมวัยอันอาจนำไปสู่ความบกพร่องทางบุคลิกภาพและการปรับตัวหากได้รับการแก้ไข มีดังนี้

1.1 หยิบสิ่งที่ไม่ใช่อาหารเข้าปาก
1.2 กินอาหารยาก หรือเบื่ออาหาร
1.3 กินจุ พร่ำเพรื่อ
1.4 อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้า หรือที่นอน
1.5 ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา
1.6 พูดน้อยคำ
1.7 พูดไม่เป็นภาษาที่ฟังเข้าใจ
1.8 พูดไม่ชัด
1.9 พูดเสียงเบา ค่อยๆ
1.10 พูดตะกุกตะกัก
1.11 พูดหยาบคาย
1.12 ไม่ยอมพูดเฉพาะกับคนบางตน
1.13 ดูดนิ้ว
1.14 กัดเล็บ
1.15 ถอนผม
1.16 กัดฟัน
1.17 โขกศรีษะ
1.18 โยกตัว
1.19 เล่นอวัยวะเพศ
1.20 เรียบร้อยเกินไป
1.21 ติดคนมากเกินไป
1.22 เชื่อผู้อื่นมากเกินไป
1.23 สมยอม
1.24 ดื้อดึงผิดปกติ
1.25 ซนผิดปกติ
1.26 หงอยเหงาเศร้าซึม
1.27 ไม่ยอมช่วยตัวเองในสิ่งที่ทำได้
1.28 พัฒนาการต่างๆที่เคยทำได้ชงัก
1.29 ชอบพึ่งพาผู้อื่น
1.30 ไม่กล้าแสดงตนเอง หรือแสดงความคิดเห็น
1.31 ขาดความเชื่อมั่นหรือภาคภูมิใจในตนเอง
1.32 ท้อแท้สิ้นหวัง หมดกำลังใจ
1.33 อาย หลบ หวาดกลัว
1.34 แยกตัวเองไม่เข้ากลุ่ม
1.35 รู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อย
1.36 เรียกร้องความสนใจ
1.37 ป้ายความผิดให้ผู้อื่น
1.38 ไม่ยอมรับผิด
1.39 กลัวโรงเรียน หรือไม่อยากมาโรงเรียน
1.40 อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า การถูกวิจารณ์ หรือต่อการเปลี่ยนแปลง
1.41 ระแวง
1.42 ย้ำคิดย้ำทำ
1.43 ก้าวร้าว
1.44 ต่อต้านสังคมด้วยวิธีต่างๆ
1.45 ดื้อเงียบ เช่น ทำไม่รู้ไม่ชี้ ทำเป็นไม่ได้ยิน
1.46 มีความประพฤติ จิตใจ การแต่งกาย และบทบาทไม่สมกับเพศของตนเองตาม พัฒนาการของวัย 
2. ลักษณะความผิดปกติทางความประพฤติที่เป็นปัญหา มีดังนี้
2.1 รู้วสึกว่าตัวเองมีปมเด่น
2.2 ฝ่าฝืนไม่เครพกฎระเบียบของหมู่คณะ
2.3ละเมิดสิทธิผู้อื่น
2.4 ก้าวร้าวทั้งทางด้านการกระทำและวาจา
2.5 ดื้อดึง ต่อต้าน
2.6 มักก่อเหตุทะเลาะวิวาท
2.7 วางเขื่อน
2.8 ต้องการความยอมรับจากผู้อื่น
2.9 อดกลั้นต่อการถูกยั่วยุไม่ค่อยได้
2.10 ไม่ยอมรับผิด
2.11 ไม่เป็นมิตรนอกจากกับกลุ่มของพวกตน
2.12 อาฆาตพยาบาท
2.13 เกะกะระราน วางโต
2.14 ก่อให้เกิด หรือได้รับอุบัติเหตุบ่อยๆ
2.15 ลักเล็กขโมยน้อย
2.16 พูดปด
2.17 ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น
2.18 หนีการเรียน
2.19 หนีออกจากบ้าน
2.20 ใช้สารเสพย์ติดต่างๆ
2.21 ผลการเรียนอยู่มนเกณฑ์ไม่ดีหรือด้อยลง 
3. ลักษณะความบกพร่องทางอารมณ์และอาการทางประสาท
3.1 ช่วงวิตกักกังวลจนเกินเหตุอยู่เสมอ
3.2 หวาดผวากลัวอย่างไม่สมเหตุสมผล
3.3 ตกใจง่าย
3.4 เคียดแค้นอาฆาต
3.5 หงุดหงิด ฉุนเฉียว ขี้โมโห บันดาลโทสะ
3.6 ขี้อิจฉาริษยา
3.7 เกี้ยวกราด มุทะลุ ก้าวร้าว
3.8 เจ้าอารมณ์
3.9 เจ้าน้ำตา
3.10 เศร้าซึม
3.11 หงอยเหงา
3.12 หมกมุ่นครุ่นคิด
3.13 ฝันกลางวัน
3.14 เหม่อลอย
3.15 ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้า
3.16 กลัวโรงเรียน
3.17 ความเอาใจใส่ และสมาธิต่อการเรียนลดลง
3.18 ผลการเรียนด้อยลง
3.19 ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
3.20 ติดผู้ใดผู้หนึ่งมากเป็นพิเศษ
3.21 ตัดสินใจอะไรไม่ได้
3.22 ท้อแท้ หมดหวัง
3.23 พะวงถึงแต่ตัวเอง
3.24 ตีโพยตีพาย
3.25 ตื่นเต้นง่าย
3.26 เก็บกดซ่อนเร้นความรู้สึก
3.27 ติดอ่าง
3.28 ฝันร้าย
3.29 นอนละเมอ
3.30 หลับยาก
3.31 พูดเพ้อเจ้อ
3.32 ย้ำคิดย้ำทำ
3.33อ่อนเพลียไม่มีแรง
3.34 เหนื่อยง่าย
3.35 เบื่ออาหาร
3.36 กลืนไม่ลง
3.37 หายใจไม่เต็มอิ่ม
3.38 จุกในคอ
3.39 แน่นหน้าอก
3.40 ถอนหายใจ
3.41 กระตุกหรือเกร็งตามส่วนต่างๆของร่างกาย
3.42 ทำเสียงในจมูกหรือในคอซ้ำๆซากๆ
3.43 เวียนหัว หน้ามืด
3.44 ปวดหัว
3.45 ปวดท้อง
3.46 ปวดข้อ
3.47 ปวดแขน ขา
3.48 ชาตามส่วนต่างๆของร่างกาย
3.49 ดูดนิ้ว
3.50 กัดเล็บ
3.51 กัดริมฝีปาก
3.52 ถอนผม
3.53 แกะเกาจนอาจเป็นผื่นแผลตามตัว
3.54 ปัสสาวะ อุจจาระบ่อยหรือราด 
ลักษณะของเด็กสมาธิสั้น
1. กลุ่มซนอยู่ไม่นิ่งหรือซนมากผิดปกติ(Hyperactivity)กลุ่มที่หุนหันพลันแล่น ขาดความยั้บยั้งชั่งใจ มีลักษณะดังนี้

1 ไม่รู้จักระมัดระวัง ตัวเอง ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
2 ลุกออกจากที่นั่งบ่อยๆ
3 ชอบวิ่ง หรือปืนป่าย อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่าย วุ่นวาย
4 พูดคุยมากเกินไป
5 มีความลำบากในการเล่นคนเดียวเงียบ
6 ลุกลี้ลุกลน
7 อารมณ์ร้อน เปลี่ยนแปลงง่าย
8 ขาดความอดทนในการรอคอย
9 ชอบพูดขัดจังหวะ รบกวน ช่างฟ้อง 
2. กลุ่มที่ไม่มีการซน แต่อยู่ไม่นิ่ง เป็นกลุ่มสมาธิที่บกพร่อง (Inattentive) มีลักษณะดังนี้
1มีปัญหาทางด้านกิจกรรมตามลำพังโดยเฉพาะคำสั่งยาวๆมีความลำบากในการฟัง คำสั่งให้ตลอดใจความ
2 มีความลำบากในการทำงาน หรือเล่นกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้สำเร็จลุลวงไป
3 อุปกรณ์ เครื่องใช้เกี่ยวกับการเรียนต่างๆสูญหายบ่อยๆ
4 ไม่สนใจสิ่งเร้าสำคัญ แต่ไม่สนใจสิ่งเร้าที่ไม่สำคัญ
5 ขาดสมาธิ หรือความตั้งใจในการทำกิจกรรมที่มีรายละเอียดปลีกย่อย หรือเรียนวิชาที่น่าเบื่อหน่ายใช้เวลานาน
6 ขาดการวางแผนจัดการที่ดี (Disorganized)
7 มีความลำบากในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเป็นเวลานานๆ(Iong mental effort)
8 มักขี้ลืม ทำของหายเป็นประจำ หรือลืมนัด
9 ถูกรบกวนจากสิ่งเร้าต่างๆง่ายมาก วอกแวกง่าย เหม่อลอยหรือช่างฝัน 
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ 
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่พอสังเกตได้ มีดังนี้

1. แยกความแตกต่างของขนาดและรูปทรงไม่ได้
2. จำตัวเลขไม่ได้
3. นับเลขไม่ได้
4. ใช้เครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หาร ไม่ได้เมื่อเรียนแล้ว
5. คำนวณผิด แม้จะใช้เครื่องหมายถูก
6. มีปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์
7. เข้าใจคำศัพท์น้อยมาก
8. ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจคำสั่ง
9. ไม่ตั้งใจฟังครู
10. จำสิ่งที่ครูพูดให้ฟังไม่ได้
11. เล่าเรื่อง / ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
12. มีปัญหาด้านการอ่านเช่นอ่านข้ามบรรทัดอ่านไม่ออกอ่านไม่ชัดไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่อ่าน
13. มีปัญหาทางด้านการเขียน เช่น เขัยนหนังสือไม่เป็นตัว จำตัวอักษรไม่ได้ สะกดคำไม่ได้ เขียนบรรยายภาพไม่ได้เลย
14. สับสนเรื่องราว
15. กะขนาดไมได้
16. ไม่เข้าใจเกี่ยวกับระยะทาง
17. เรียงลำดับมากน้อยไม่ได้
18. เรียงลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
19. สับสนเรื่องซ้าย - ขวา หรือบน- ล่าง
20. มองเห็นภาพแต่บอกความแตกต่างของภาพไม่ได้
21. จำสิ่งที่เห็นไม่ได้
22. จำสิ่งที่ได้ยินไม่ได้ และแยกเสียงไม่ได้
23. เคลื่อนไหวช้าผิดปกติ
24. เดินงุมง่าม
25. หกล้มบ่อย
26. กระโดดสองเท้าพร้อมกันไม่ได้
27. มีปัญหามในการทรงตัวขณะเดิน
28. หยิบจับสิ่งของไม่ค่อยได้จึงทำของหลุดมือบ่อย ซุ่มซ่าม
29.เคลื่อนไหวเร็วอยุ่ตลอดเวลา
30. อยู่นิ่งเฉยไม่ได้
31. รับลูกบอลไม่ได้
32. ติดกระดุมไม่ได้
33. เอาแต่ใจตนเองไม่ฟังความเห็นของเพื่อน
34. เพื่อนไม่ชอบ ไม่อยากให้เข้ากลุ่มด้วย
35. ช่วงความสนใจสั้นมาก
36. แต่งตัวไม่เรียบร้อยเป็นประจำ
37. ทำงานสกปรกไม่เป็นระเบียบ
38. ชอบหลบหน้าไม่ค่อยมีเพื่อน
39. หวงของ ไม่แบ่งปัน
40. ขาดความรับผิดชอบ เลี่ยงงาน
41. มักทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่สำเร็จ
42. ส่งงานไม่ตรงเวลา
เด็กออทิสติก 
ลักษณะของเด็กออทิสติก มีดังนี้

1. อยู่ในดลกของตัวเอง คือไม่สนใจต่อความรู้สึก ของคนอื่น
2. ไม่สนใจที่จะเข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
3. ไม่เข้าไปเล่นกับกลุ่มเพื่อนๆ
4. ไม่ยอมพูด ส่วนการเล่นเสียงจะไม่มีแบบแผนแน่นอน อาจแตกต่างกันไปในแต่ละวัน
5. เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆซากๆ
6. ยึดติดวัตถุ สิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งมักถือเดินไปเรื่อยๆ
7. ต่อต้าน หรือแสดงกิริยาอารมณ์ รุนแรง และไร้เหตุผล
8. มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก
9. ท่าทางไม่รู้สึกรับรู้ต่อสิ่งเร้ามี่มากระตุ้น
10. ใช้วิธีการสัมผัส และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่ต่างจากคนทั่วไป เช่น ใช้วิธีการดม การชิม เป็นต้น
เด็กพิการซ้อน 
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องซ้อน ที่พอสังเกตได้ดังนั้นก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกับลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องในประเภทต่างๆดังได้กล่าวแล้วข้างต้น