วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนสัปดาห์ที่ 3


บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 3
วันอังคาร  ที่  19  พฤศจิกายน  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


กิจกรรมการเรียนการสอน    
           ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ได้อธิบาย 2 หัว ที่เกี่ยวกับเด็กพิเศษ นั้นคือ 
หัวข้อที่ 1 อาการบกพร่องทางร่างกายและความบกพร่องทางสุขภาพ 
หัวข้อที่ 2 เด็กที่มึความบกพร่องทางด้านการพูดและภาษา

              อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย ได้แก่
                1. ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจนฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
                                1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
                                1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
                                1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
                                1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
                                1.5 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
                2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย

                3. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
                                3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
                                3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
                                3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
                4. โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว
                5. แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก
                6. โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง
                - ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่
                1. โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้
                                1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)
                                1.2 การชักในช่วยเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
                                1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
                                1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
                                1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
                2. โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม
                3. โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน
                4. โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
                5. โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ
               6. โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด
               7. โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระตูก และไต
                8. บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)


เด็กที่มึความบกพร่องทางด้านการพูดและภาษา

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการพูดทั้งในเรื่องการเข้าใจภาษาที่คนอื่นพูดและพูดให้คนอื่นเข้าใจ เป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งต่อการรับรู้และเรียนรู้พัฒนาทักษะทุกๆ ด้าน

ความบกพร่องทางการพูดและภาษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1.            กลุ่มที่พัฒนาภาษาและการพูดล่าช้าหรือไม่สมวัย ได้แก่
-                   เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
-                   เด็กสมองพิการ
-                   เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์
-                   เด็กเชาว์ปัญญาต่ำ
-                   เด็กที่ขาดกรกระตุ้นการพัฒนาภาษาและการรพูดจากครอบครัวและสิ่งแวดล้อม
2.            กลุ่มเด็กอะเฟเซีย ( aphasis )
เป็นส่วนอาการที่แสดงถึงความบกพร่องทางภาษา อันเกิดจากสมาธิสภาพของสมองส่วนที่ควบคุมภาษาทำให้มีปัญหาทางภาษาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน แบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ
                        อะเฟเซียชนิดมีปัญหาทางด้านการรับรู้ทางภาษาเป็นปัญหานำ
                        อะเฟเซียชนิดมีปัญหาทางด้านการแสดงออกทางภาษาเป็นปัญหานำ
                        อะเฟเซียชนิดมีปัญหาในการนึกคำพูด
                        อะเฟเซียชนิดมีปัญหาทางด้านการรับรู้ทางภาษาและการแสดงออกททางภาษา

การให้ความช่วยเหลือและแก้ปัญหาทางการพูด
            การให้ความช่วยเหลือหรือการแก้ไขความบกพร่องทางการพูดและภาษาจะมีความแตกต่างกันไปตามสาเหตุและความรุนแรงของปัญหา หลังจากที่พบความบกพร่องแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเด็กไปพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.            เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ควรพบกับ
-                   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทาง หู คอ จมูก
-                   นักแก้ไขการพูด
-                   นักโสตสัมผัสวิทยา
-                   นักการศึกษาพิเศษ
2.            เด็กสมองพิการ  ควรพบกับ
-                   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางประสาทสัมผัสวิทยา
-                   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางกายภาพบำบัด
-                   นักแก้ไขการพูด
-                   นักกายภาพบำบัด
-                   นักการศึกษาพิเศษ
3.            เด็กออทิสติก  ควรพบกับ
-                   จิตแพทย์เด็ก
-                   นักแก้ไขการพูด
-                   นักกายภาพบำบัด
-                   นักการศึกษาพิเศษ
4.            เด็กเชาว์ปัญญาต่ำ  ควรพบกับ
-                   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาการเด็ก
-                   แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางกายภาพบำบัด
-                   นักแก้ไขการพูด
-                   นักกายภาพบำบัด
-                   นักการศึกษาพิเศษ
5.            เด็กที่ขาดกรกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม  ควรพบกับ
-                   นักแก้ไขการพูด
-                   นักการศึกษาพิเศษ

            แนวทางและฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กบกพร่องทางภาษาและการพูด
1.            การสื่อความหมาย
                        การสื่อความหายโดยใช้ท่าทางหรือภาษามือ
ข้อดี
-                   เรียนรู้ได้ง่าย สื่อสารไดด้รวดเร็ว
-                   สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา
-                   เริ่มเรียนเมื่อไหร่ก็ได้
ข้อจำกัด
-                   ภาษามือจะเป็นที่รู้จักเฉพาะในสังคมคนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
-                   การสื่อความหมายโดยใช้ภาษมือมีความจำกัดเฉพาะลักษณะของภาษามือมักเป็น code หรือสัญลักษณ์ ไม่สามารถสื่อความหมายได้ละเอียดเหมือนภาษาพูด
-                   ไม่มีลูกเล่นทางภาษา เช่น คำเปรียบเทียบ อุปมา อุปมัย คำพังเพย เป็นต้น
-                   ผู้ที่สื่อความหมายโดยใช้ภาษามือจะมีโอกาสเลือกทางการศึกษาและประกอบอาชีพได้น้อยกว่าผู้ที่ใช้ภาษาพูด
                           การสื่อความหายโดยใช้การฟังหรือภาษาพูด
ข้อจำกัด
-                   การฝึกสอนให้เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดหัดออกเสียงพูดจะต้องเริ่มการกระทำตั้งแต่อายุน้อยๆ
-                   การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการฟังและการพูดจะต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก จะต้องทำการฝึกอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น