บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 4
วันอังคาร ที่ 26 พฤศจิกายน 2556 ( กลุ่ม 101 )
วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
- อาจารย์อธิบายประเภทของเด็กพิเศษต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว
- เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้ - เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ - ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อยแบ่งได้ 2 ประเภท 1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ 2. เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด คือ
- วิตกกังวล - หนีสังคม - ก้าวร้าว
การจัดว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
- สภาพแวดล้อม - ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
- ไม่สามารถเรียนหนังสือได้ - รักษาความสัมพันธ์ความเพื่อนและครูไม่ได้ - มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน - มีความคับข้องใจ และ มีความเก็บกดทางอารมณ์ - แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ - มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
- เด็กสมาธิสั้น - เด็กออทิสติก หรือ ออทิสซึ่ม
เด็กสมาธิสั้น
- เรียกย่อๆว่า ADHD
- เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง - มีปัญหาสมาธิบกพร่อง
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้าหรือที่นอน - ยังติดขวดนม - ดูดนิ้ว กัดเล็บ - หงอยเหงา เศร้าซึม - เรียกร้องความสนใจ - อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า - ขี้อิจฉา ริษยา ก้าวร้าว - ฝันกลางวัน - พูดเพ้อเจ้อ
7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ( Children with Learning Disability )
- เรียกย่อๆว่า L.D.
- มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง - มีปัญหาทางการใช้ภาษาหรือการพูด - ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- มีปัญหาทักษะทางคณิตศาสตร์ - ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้ - เล่าเรื่อง - มีปัญหาทางด้านการอ่านการเขียน - ซุ่มซ่าม - รับลูกบอลไม่ได้ - ติดกระดุมไม่ได้ - เอาแต่ใจตนเอง
8. เด็กออทิสติก ( Autistic )
- หรือเด็กออทิสซึ่ม ( Autisum )
- เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์อย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย
พฤติกรรมสังคม
- เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักเป็นของตนเอง - ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต - ทักษะทางภาษา - ทักษะทางสังคม - ทักษะการเคลื่อนไหว - ทักษะรูปร่าง ขนาด
ลักษณะของเด็กออทิสติก
- อยู่ในโลกของตนเอง - ไม่เข้าไปหาใครเพื่อปลอบใจ - ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน - ไม่ยอมพูด - เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ - ยึดติดกับวัตถุ - ต่อต้านหรือแสดงกิริยาอารมณ์รุนแรง - มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก - ใช้วิธีการสัมผัสและเรียนรู้สิ่งต่างๆ
9. เด็กพิการซ้อน ( Children With Multiple Handicaps )
- เด็กมีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง - เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน - เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
- เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
อาจารย์ให้ดูโทรทัศน์ครูเรื่อง
"ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ"
สรุปเป็น My Map ส่งท้ายคาบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น